โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 37 – นิสัยสมัยใหม่ (2)

การระบาดของโรคอ้วน (Obesity epidemic) ก็เป็นวิกฤตสาธารณสุขเช่นกัน โรคอ้วนเกี่ยวข้องกับโรคร้ายเรื้อรัง (Chronic) มากมายและส่งผลให้เสียชีวิตเกินไป (Excess) ด้วย ในความเป็นจริงระหว่างปี ค.ศ. 1986 ถึง ค.ศ. 2006 การมีน้ำหนักเกิน (Over-weight) และโรคอ้วนอาจเป็นต้นเหตุ (Root cause) ของการเสียชีวิต 18% ของประชากรผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

กล่าวคือเกือบ 1 ในทุก 5 คนเสียชีวิต เพราะโรคอ้วน ซึ่งได้เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นปัจจัยนำ (Leader) ในการเสียชีวิตที่ป้องกันได้ (Preventable) อันดับ 3 โดยตามหลัง (Trailing) การสูบบุหรี่ (Smoking) และความดันโลหิต (Blood pressure) สูง โดยที่โรคอ้วนก็เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตประมาณ 216,000 คนของอเมริกันในปี ค.ศ. 2005 เพียงปีเดียว

นอกจากนี้ โรคอ้วนยังมีต้นทุนสูง (Costly) เช่นกัน ตามรายงานจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อในสหรัฐ (Center for Disease Control and Prevention (CDC) ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2008 สูงเกือบ 150 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 5.25 ล้านล้านบาท)

ต้นทุนในผลิตภาพ (Productivity) จากการทำงานของชาวอเมริกันที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนก็สูงถึง 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 210 พันล้านบาท) ต่อปี โรคอ้วนทำให้เสียชีวิตเพราะมีรายการยาวเป็นหางว่าว (Long list) ของโรคร้ายที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างเช่น ความดันโลหิตสูง, ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ (Abnormal), โรคเบาหวาน (Diabetes), โรคหัวใจ, อัมพาต (Stroke), โรคถุงน้ำดี  (Gall-bladder), โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis), อนามัยหายใจขณะนอน (Sleep apnea), ความผิดปกติในการทำงานของสมอง(Cognitive dysfunction), โรคตับอ่อน (Fatty liver disease) และหลายประเภทของมะเร็ง (Cancer) ทุกโรคเหล่านี้อาจ (Potentially) เกี่ยวข้องกับต้นทุนการรักษาที่สูงมาก

ความดันโลหิตสูง (Hyper-tension) เองก็เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต เนื่องจากความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจและอัมพาต มีการประเมิน (Estimate) ว่า 78% ของความดันโลหิตสูงในผู้ชายและ 65% ในผู้หญิง อาจเชื่อมโยงกับการเพิ่มน้ำหนักเกินไป โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ (Major) ของโรคเบาหวานชนิด 2 และส่วนมากของการเพิ่มอัตราการเป็นโรคเบาหวานโดยรวม (Overall) ในสหรัฐอเมริกา

ในการวัดความเสี่ยงเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักเหมาะสมต่อสุขภาพ (Healthy wight) หญิงอ้วนที่มีอายุ 18 ปีมีความเสี่ยงตลอดชีวิต (Life-time) สูงขึ้น 38% ในการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 58% ในกรณีของโรคอ้วนระดับ 2 โดยที่ไม่ได้เป็นการวิเคราะห์ความเสี่ยงทฤษฎี (Theoretical) เท่านั้น แต่เป็นความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้น (Manifest) ในชีวิตจริง (Real life)

อันที่จริง 85% ของผู้มีโรคเบาหวานชนิด 2 มีน้ำหนักเกินไปหรืออ้วนเกิน โรคอ้วนยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง (Alteration) ในการเผาผลาญ (Metabolism) ของคอเลสเตอรอล ทำให้ประมาณ 60 ถึง 70% ของผู้ป่วยโรคอ้วนเกิน มีระดับคอเลสเตอรอลปรกติ 

แหล่งข้อมูล – 

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.